25 ก.ย. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 17 25/09/2555

     


                                สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ   บรรยากาศในห้องวันนี้สนุกสนานและอบอุ่น
แต่อาทิตย์นี้สิ้้นสุดการเรียนการสอน   เพราะจะสอบปลายภาคอาทิตย์หน้า

                                วันนี้อาจารย์ได้กล่าวถึงการทำบล็อกให้เป็นกิจวัตรและการมาเรียนต้องจดบันทึกออกมาให้เราได้เข้าใจในวิชาที่เรียนและสามารถนำกลับไปทบทวนได้    การเรียนในห้องเรียนถ้าอาจารย์สอนไม่เข้าใจให้ถาม    การเรียนของนักศึกษาเอกปฐมวัยมีการเรียนที่หลากหลายและสามารถนำไปใช่เชื่อมโยงกับวิชาต่างๆได้  แต่นักศึกษามีข้อจำกัดคือ การเรียนโดยการนำเสนอยังไม่ถูกต้องเท่าที่ควร เพราะการเรียนเอกปฐมวัยสามารถนำไปใช่ได้กับชั้นประถมศึกษา  สามารถเรียนต่อปริญญาโทเพื่อจะสอบเป็นผู้บริหารสถานศึกษาได้    อาจารย์ให้แสดงความคิดและวิเคาระห์ให้เป็น อาจารย์ให้โจทย์มา 2 ข้อ

                                การเขียนอนุทิน  ต้องเขียนสรุปให้ถูกต้อง  การเขียนบล็อกเมื่อทำเป็นประจำอาจารย์ก้สามารถประเมินนักศึกษาเป็นระยะได้  ไม่ใช่ว่าจะมาทำตอนสอบเพระอาจารย์จะประเมินไม่ได้
วัตถุประสงค์การสอนของอาจารย์  อาจารย์จะสอนตามวัตถุประสงค์ที่อาจารย์วางไว้  เพื่อให้เด็กเรียนรู้  การใช้เทคโนโลยีมีเยอะแยะมากมายที่สามารถสืบค้นคว้าหาข้อมูล  เพราะการเรียนรู้เราต้องวิ่งให้ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ได้และต้องอยู่กับเทคโนโลยีที่เป็นปัจจุบัน   แหล่งเรียนรู้เมื่อเราอยากรู้เรื่องอะไรก็สามารถค้นคว้าได้ถูกต้องเพราะเรามีหลักการ

                              การประเมินนักศึกษาของอาจารย์  อาจารย์จะประเมิน ครูประเมินลูกศิษย์  เพื่อให้ลูกศิษย์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง   การที่เรากลับไปอยู่ต่างจังหวัดแต่เราก็จะหลักการเหมือนกัน
เหตุผลที่อาจารย์ให้ทำบล็อก เพราะต่อไปเด็กต้องใช้แทพเล็ตครูก็ควรต้องรู้และทันกับเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
                       
                             วิธีการเรียนรู้
- แผนที่ความคิด
- ลงมือปฎิบัติในชั้นเรียนและสภาพจริง
- สืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง
- เขียนบันทึก
- ระดมความคิด
- กระบวนการแก้ปัญหา
- การเป็นแบบอย่าง เช่น ใช้การสาธิต
การเรียนการสอนของอนุบาลเป็นองค์รวมสามารถบรูณาการได้ทุกวิชา


 หมายเหตุ   สอบ 10 คะแนน

                  เรียนเรื่องอะไรไปอาจารย์ก็จะออกตามที่ได้เรียนไป
                               

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16 18/09/2555



                 สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ   วันนี้บรรยากาศในห้องเรียนอบอุ่นค่ะ
เพราะอาจารย์ได้ถามนักศึกษาในห้องว่าใครมีความสามารถในตนเอง  เพื่อดึงประสบการณ์เดิมจากมัทธยมปลาย  เพื่อไม่ให้หายไปอาจารย์จึงจะสานต่อและเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย ที่มีพัฒนาการทั้ง  4 ด้าน


                  อาจารย์ย้ำเรื่องบล็อกของนักศึกษาทุกคนว่าต้องทำเป็นประจำและเป็นกิจวัตร  เพราะอาจารย์จะตรวจไปเรื่อยๆเพื่อประเมินสม่ำเสมอ    และใครที่เปิดบล็อกไม่ได้อาจารย์จะไม่ให้ติด I  เพราะอาจารย์คิดว่าอาจารย์ได้บอกและย่ำทุกคาบที่อาจารย์สอน   อาจารย์ได้อบรมคุณธรรม จริยธรรม ว่านักศึกษาทุกคนต้องรักในวิชาชีพของตนเองทุกคน  ตอนนี้นักศึกษากำลังเรียนก็ต้องทำหน้าที่ของตนเองให้สุดความสามารถ  เทคโนโลยีที่แต่ละคนสามารถใช่ให้เกิดประโยชน์กับวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด้กปฐมวัยได้มากมาย


                 อาจารย์ให้ออกไปนำเสนองานทดลองที่ไปจัดให้น้องๆโรงเรียนสาธิตจันทรเกษม    การที่เราไปจัดกิจกรรมให้กับน้องเราก็ต้องสอดแทรกการเรียนรู้ไปในตัว  เพราะกระบวนการวิทยาศาสตร์ต้องมีการสมมุติฐานเพื่อให้ประสบการณ์กับน้องๆ
การประเมิน
1 ตั้งคำถาม สนทนา
2 ผลงาน
3 สังเกตโดยการบันทึก
4 สัมภาษณ์
5 แบบฝึกหัด (โดยใช้การทดลอง)

                 กลุ่มดิฉันได้ออกไปนำเสนองาน  หลังจากไปจัดกิจกรรมให้กับน้องๆโรงเรียนสาธิตจันทรเกรษม
จากการทดลองโดยการสนทนา
ถามน้องๆว่า ไข่นี้สามารถลงไปอยู่ในขวดได้ไหม
-  น้องบางคนบอกว่า ลงไปได้เพราะอากาศในขวดดูดลงไป
-  น้องบอกว่าลงไปได้เพราะน้องเคยทดลงในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แล้ว
-  น้องบางคนบอกว่าไข่ลอยน้ำ เพราะหันไปเห็นน้ำที่อยู่ในแก้ว
-  น้องบางคนบอกว่าลงไม่ได้เพราะไข่ใหญ่กว่าขวด

หลังจากนั้น ก็ได้ทดลองให้น้องๆดู และได้สนทนากับน้องๆว่าไข่สามารถลงไปอยู่ในขวดได้เนื่องจากเราจุดไฟที่ทิชชูแล้วนำทิชชูใส่ลงไปในขวด  เมื่อไฟดับอากาศภายในขวดจะขยายตัวและลอยออกมาจากในขวด  ทำให้ความดันอากาศลดน้อยลงกว่าอากาศภายนอก จึงทำให้อากาศภายนอกที่มีอยู่มากดันไข่ต้มลงไปในขวด

                 นอกจากนี้น้องๆบางคนก้ออยากทดลงบาง แต่การจุดไปกลุ่มดิฉันจะจุดให้แล้วให้น้องๆนำไข่วางบนปากขวด  พอแรงดันดูดไข่ลงไปจะมีเสียงดังน้องๆก็ตกใจและหัวเราะอย่างสนุกสนานค่ะ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 11/09/2555



                           สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ   บรรยาหาศการเรียนวันนี้สนุกสนานมากค่ะ  เพราะได้ลงมือปฎิบัติการทดลองให้กับน้องๆที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม    ตื่นเต้น สนุนสนาน  มีความสามัครคีกันและงานในวันนี้ได้บรรลุล่วงไปได้ด้วยดี  ชองกิจกรรมแบบนี้มากค่ะและอยากให้อาจารย์สอนแบบนีเพราะได้สัมผัสการเรียนการสอนแบบจริง  ทำให้ได้ความรู้โดยตรง

                       
                                                                 กิจกรรม  ขวดกินไข่
         
                   แนวคิดการดูดไข่ลงขวด

1 เมื่อไข่ได้รับความร้อนจากควันทิชชู้ ที่อยู่ในขวด
2 ทำให้อากาศในขวดขยายตัวลอยออกจากปากขวดและความดันอากาศในขวดลดน้อยลงกว่าความดันอากาศภายนอก
3 ทำให้อากาศภายนอกที่มีอยู่มากนั้นดันให้ไข่ตกลงไปในขวด

                   อุปกรณ์การทดลองการดูดไข่ลงขวด

1 ไข่ต้มสุก
2 ขวดปากแคบ
3 เทียนไขหรือกระดาษทิชชูก็ได้
4 ไม้ขีดไฟ

                   วิธีการทดลองการดูดไข่ลงขวด

วิธีที่ 1

-  นำเทียนไข(เที่ยนวันเกิดเล่มเล้ก)มาปักบนไข่ไก่ 3 แท่ง
-  จุดเทียนไขที่ปักบนไข่ทั่ง 3 แท่ง
-  นำขวดปากแคบที่เตรียมไว้และนำไข่มาวางที่ปากขวด  เอาไข่ส่วนที่ปักเทียนลงล่างขวด
-  หลังจากที่วางไข่เสร็ดเทียนจะดับ
-  สังเกตไข่ต้มบนปากขวดจะถูกดูดลงไปในขวด

วิธีที่ 2  (ใช้วิธีนี้เป็นการทดลองกิจกรรม)

-  นำขวดปากแคบมาวางบนโต๊ะ
-  นำกระดาษทิชชูมาจุดกับไม้ขีดไฟที่เตรียมไว้
-  หลังจากกระดาษทิชชูติดไฟให้นำลงไปใส่ในขวดที่เตรียมไว้
-  นำไข่ต้มมาวางบนปากขวด
-  สังเกตไข่ต้มที่อยู่บนปากขวดจะถูกดูดลงไปในขวด

     หมายเหตุ  การทดลองนี้ควรอยู่ในความดูแลของครูและผู้ปกครองอย่าใกล้ชิด  เนื่องจากต้องใช้ไฟในการทดลองเพราะอาจเกิดอันตรายได้

                   สรุปผลการทดลองการดุดไข่ลงขวด

          -  สาเหตุที่ไข่ถูกดูดลงไปในขวดได้  เนื่องจากเมื่อเราจุดไฟลงไปในขวดเมื่อไฟลงไปในขวด  เมื่อไฟดับอากาศในขวดจะขยายตัวและลอยตัวออกมาจากปากขวด  ทำให้ความดันอากาศในขวดลดน้อยลงกว่าอากาศภายนอก  จึงทำให้อากาศภายนอกที่มีอยู่มากดันไข่ต้มให้ลงไปในขวดปากแคบ


                                                         รูปกิจกรรม





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 04/09/2555



                      สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ     วันนี้บรรยากาศในชั้นเรียนสนุกสนานเฮฮา  การเรียนไม่เครียดเรียนได้เข้าใจและไม่เบื่อ

                   
                     อาจารย์ได้กล่าวถึงการเข้าอบรมนิทานของอาจารย์ กรรณิการ์   สุสม   ที่จะเข้าในวันเสาร์ที่จะถึงนี้   การที่ได้เข้าอบรมนี้มีประโยชน์ต่อตัวนักศึกษามาก   เพื่อจะนำไปใช้ในอนาคตได้

                   
                     อาจารย์ได้สอนถึงภาพ  2 มิติ  และ3 มิติ  ภาพ 2 มิติ  คือภาพวาด  ภาพถ่าย  ภาพลายเส้น  สัญญาลักษณ์        ส่วนภาพ 3 มิติ  คือ  ภาพนูน   มองได้หลายๆมุม
อาจารย์ได้ทวนความจำเกียวกับเกมการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
1  เกมโดมิโน             2  เกมจับคู่
3  มิติสัมพันธ์             4  อุปมา  อุปมัย
5  ลอตโต้                  6  จิ๊กซอ
8 อนุมาน                   9  ตารางสัมพันธ์
10  พื้นที่และเวลา  เป็นต้น

                 
                      อาจารย์ให้ส่งบอร์ดที่ทำในอาทิตย์ที่แล้ว   อาจายร์ได้อธิบายการทำบอร์ดของแต่ละกลุ่มว่าเราควรจะจัดในรูปแบบไหนจึงจะดูดีและให้เหมาะสมกับเนื้อหาและดึงดูดความสนใจให้แก่ผู้อ่าน
การจัดเตรียมการทดลองที่จะไปลงกับโรงเรียนสาธิตจันทรเกษม
1 อากาศ  อากาศต้องการที่อยู่  อากาศมีแรงดัน  อากาศก๊าซโดนความร้อน
2 น้ำ        แรงดันของน้ำ   การเปลี่ยนสถานะ
อาจารย์ให้จับกลุ่ม 3 กลุ่มใหญ่   แต่ทุกคนต้องเรียนรู้ทุกกลุ่ม


 หมายเหตุ     วันที่ 11  กันยายน 2555  อาจารย์ให้ไปจัดกิจกรรมที่สาธิต  คือการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ได้    
                    จัดเตรียมไว้   ให้เตรียมของให้เรียบร้อยและให้เขียนอุปกรณ์ที่จะต้องเบิกมาให้อาจารย์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 28/08/2555



               
                          สวัสดีอาจารย์ค่ะอาขารย์ที่เคารพ

           เนื่องจากวันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเพราะ อาจารย์ไปประชุม

หมายเหตุ   อาจารย์สั่งงาน  คือ  ให้ทำบอร์ดที่เข้าอบรมครั้งที่แล้ว  3 คน ต่อ 1 บอร์ด ทำให้สวยงามและ               
                 ส่งในคาบ

3 ก.ย. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 25/08/2555


                     สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ   บรรยากาศการอบรมวันนี้ก็มีแปลกหน้าแปลกตา เพราะได้มีภาคสมทบเข้ามาอบรมด้วยก็รู้สึกดีใจที่อาจารย์ได้ให้ภาคสมทบเข้าร่วมกิจกรรม  จึงทำให้เราได้รู้จักกันมากขึ้นและวิทยากรณ์ก็น่ารักมากๆ   ชอบสไตล์การแต่งตัวของท่านวิทยากรณ์มองเรามีความสุข  ท่านได้เป็นตัวของตัวเองและเป็นกันเองกับพวกเรามาก

     








1 ก.ย. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 21/08/2555


                สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ    วันนี้บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานเฮฮา  และอาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 11 คน  มี  4 กลุ่ม   อาจารย์ได้แจกหนังสือให้แต่ละกลุ่มและให้เลือกหน่วย  1 หน่วย   มาเสนอในการเรียน   กลุ่มดิฉันเลือก  บุคคลและสถานที่

               กลุ่มที่ 1   ตัวเรา    หน่วย   ร่างกายของหนู
                                                     สัมผัสทั้ง  5
                                                     อาหารดีมีประโยชน์
                                                     ผลไม้น่ารับประทาน

               กลุ่มที่ 2   บุคคลและสถานที่    หน่วย  บ้านน่าอยู่
                                                                      แม่จ๋า

               กลุ่มที่ 3  ธรรมชาติรอบตัว  หน่วย  ฝนจ๋า
                                                                น้ำเพื่อนชีวิต
                                                                ต้นไม้ให้ร่มเงา
                                                                อากาศ
                                                                กลางวันกลางคืน
                                                                เจ้าแห่งแสงแดด
                                                                โลกของเรา
                                                             
               กลุ่มที่ 4  สิ่งต่างๆรอบตัว  หน่วย  วิทยาศาสตร์น่ารู้
                                                              พลังงาน

มาก่อนฝน  แนวคิด  น้ำเมื่อได้รับความร้อนบ้างส่วนจะกลายเป็นก๊าซ เรียกว่า ไอน้ำ
                ขั้นตอน  1 นำขวดแก้วที่แช่เย็นเอาไว้โดยเด็กบอกความรู้สึกที่สัมผัสได้
                             2 เทน้ำอุ่นลงในขวดประมาณครึ้งขวด วางก่อนน้ำแข็งไว้บนปากขวด
                             3 เด็กสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
                             4 อาสาสมัครเป่าลมแรงๆเข้าไปในขวดที่แช่เย็นใบที่ 2
                             5 เมื่อหยุดเป่าจะเห็นกลุ่มเมฆจางๆ
                  สรุป     1 เมฆจะก่อตัวขึ้นจากไอน้ำที่อยู่ในขวดซึ่งควบแน่น  เพราะได้รับความเย็นจากน้ำแข็ง                   2 กลุ่มเมฆจางๆในขวดเกิดจากอากาศในขวดขยายตัวและแผร่การกระจายออกไป
                             3 สภาพถายในขวดเย็นลง ดังนั้นไอน้ำจากลมหายใจจึงควบแน่นกลายเป็นเมฆหรือละอองน้ำ

ใครใหญ่  แนวคิด  น้ำจะถูกแทนที่ด้วยขนาดของมือเราเอง
              ขั้นตอน  1 นำขวดแก้วใสมาวางไว้บนโต๊ะกลางวง
                           2 เทน้ำใส่ลงไปให้ได้ครึ้งขวดทำเครื่องหมายระดับน้ำเอาไว้
                           3 ให้เด็กกำมือของตนเองหย่อนลงไปในขวดทีละคน
                           4 ครูจะทำเครื่องหมายกำกับของทุกคน
                           5 ให้เด็กช่วยกันสรุปผลจากการทดลอง
              สรุป       ระดับน้ำในขวดแก้วใสจะสูงขึ้นมาจากเดิม  ตามขนาดเท่ากับฝามือของเด็กแต่ละคน

ใบไม้สร้างภาพ  แนวคิด  สีจากใบไม้สดสามารถสร้างภาพได้เหมือนจริง
                       ขั้นตอน  1 เด็กสังเกตลักษณะของใบไม้ที่เก็บมา
                                    2 นำกระดาษวาดภาพมาพับเป็นสองส่วนเท่าๆกัน
                                    3 วางใบไม้ทีละใบระหว่างกระดาษวาดเขียนที่พับไว้
                                    4 ใช่ก้อนไม้ค่อยๆเคาะลงบนกระดาษของบริเวณที่มีใบไม้อยู่
                                    5 เมื่อกระดาษวาดเขียนออกให้เด็กช่วยกันหาเหตุผล
                         สรุป     1 น้ำสีจากน้ำใบไม้สดจะเป็นรูปร่างขั้นบนกระดาษ
                                    2 โครงสร้างที่ได้จะได้ใบไม้ของจริงที่เป็นรูปแบบ
                                    3 สีจากใบไม้เป็นสีธรรมชาติที่เราจะนำไปทำอะไรได้อีกบ้าง

ทำให้ร้อน  แนวคิด   แรงเสียดทานเป็นแรงซึ่งพยายามหยุดการลื่นไหลไปบนสิ่งต่างๆพลังงาน
                ขั้นตอน   1 ครูแจกดินสอกับหนังสือให้เด็กคนละหนึ่งชุด
                              2 ให้เด็กจับดินสอด้วยมือที่ถนัด
                              3 ถูไปมากับหนังสือประมาณ 5 นาที
                              4 ดินสอส่วนที่ได้ถูไปกับหนังสือไปกับผิวหนัง เช่น แขน , ริมฝีปาก
                              5 เด็กบอกความรู้สึกจากการสัมผัส
                 สรุป       1 แรงเสียดทานระหว่างดินสอกับสันหนังสือทำให้เกิดความร้อน
                              2 นำส่วนที่ถูกับสันหนังสือของดินสอมาแตะที่ผิวหนังส่วนใดส่วนหนึ่งเฉพาะริมฝีปากจะมีความรู้สึกว่าร้อน

หมายเหตุ- การบ้าน  จับกลุ่ม 4 คน  เลือก1 หน่อยทำการทดลอง  เชิงทดลอง
                  กลุ่มดิฉันเลือกหน่อย