29 มิ.ย. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3 26/06/2555

               สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ 
               อาจารย์ให้ส่งงานกลุ่ม  และอธิบายถึงนโยบายของคณะศึกษาศาสตร์ว่าอธิการบดีของคณะให้นักศึกษาทุกคนเขียนมายแม็ปปิ้งเป็นทุกคน  เพื่อเป็นการสรุปเนื้อหาเยอะๆให้มาอยู่ในแผ่นเดียวสามารถอ่านแล้วเข้าใจเนื้อหา   อาจารย์ได้ดูงานของแต่ละกลุ่มและบอกวิธีการเขียนมายแม็ปปิ้งที่ถูก คือ เขียนจากขาวมาซ้าย หมุนเหมือนเข็มนาฬิกา  และบอกวิธีจัดบอร์ดที่ถูกต้องสำหรับเด็กปฐมวัยห้ามใช้สีสะท้อนแสงและการเลือกใช้กระดาษที่เหมาะสม

               หมวดมี 4  หมวด
-เนื้อหาต้องเลือกสิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก
-พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องของเด็ก ตามความสามารถของเด็กและพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
-การอนุรักษ์ของเด็กวัย 4-5 ขวบ คือสิ่งรอบตัว
-การอนุพันธ์ 2 ขั้นของเพียเจย์
        0-2   ด้านสติปัญญา มีการสังเกตุ การมองและการได้ยินเสียงเด็กจะคอยหันตามเสียงที่ได้ยิน  ใช้มือสัมผัสสิ่งของเพราะสมองสั่งการเพื่อจะเก็บข้อมูลเป็นการ"รับรู้"
        2-4   เด็กมีประสบการณ์เดิมจากความรู้เดิมและมีการเรียนรู้ใหม่เพิ่มขึ้น  จะทำให้เด็กมีพัฒนาการต่อยอดจากความรู้เดิมเชื่อมโยงเป็นความรู้ใหม่  มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นการ"เรียนรู้"
        การประเมินเด็กต้องสังเกตจากพฤติกรรมของเด็ก  เด็กมีภาษามากขึ้นและใช้ประโยคเพิ่มขึ้น  เพราะตอน 0-2 ขวบ เด็กจะมีอีโก้สูงมาก"ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง" พอเด้กประมาณอายุ 4-5 ขวบ  สามารถเล่นกับเพื่อนได้มากขึ้น

                  ขั้นอนุรักษ์  คือ  ขั้นที่เด็กตอบตามตามองเห็น
การอนุรักษ์  คือ การใช้เหตุผล เช่น น้ำ  2 แก้ว เท่ากัน  เด็กสามารถใช้เหตุได้เพราะเด็กต้องสอนด้วยการให้เด็กได้มองเห็นและสัมผัสของจริง
วิทยาศาสตร์มี 4  ตัว
1 สิ่งที่ใกล้ตัว
2 สิ่งที่กระทบต่อตัวเด็ก  เพราะบางสิ่งเด็กอาจจะอยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ
3 วิทยาศาสตร์ คือ สิ่งที่อยู่รอบตัว
4 วิทยาศาสตร์ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

                   หน่วยมี 4  หน่วย
1 ตัวเด็ก  ตัวเรา
2 บุคคลและสถานที่   (ใกล้ชิดกับตัวเด็กและผลกระทบต่อตัวเด็ก)
3 ธรรมชาติรอบตัว
4 สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
        การสอนเด็กต้องสอนหน่วยใหญ่
-สัมผัสทั้ง  5
-อาหารดีมีประโยชน์ เช่น กล้วย

                    วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
1 แบ่งสมาชิก 9 กลุ่ม
-อายุ  3 ปี  กลุ่ม 1 วันที่16-20 กค. 2555
                  กลุ่ม 2 วันที่23-27 กค.2555
                  กลุ่ม 3 วันที่ 30 กค.-3 สค. 2555
-อายุ  4  ปี  กลุ่ม 4 วันที่16-20 กค. 2555
                  กลุ่ม 5 วันที่23-27 กค.2555
                  กลุ่ม 6 วันที่ 30 กค.-3 สค. 2555
-อายุ  5 ปี  กลุ่ม 7  วันที่16-20 กค. 2555
                  กลุ่ม 8  วันที่23-27 กค.2555
                  กลุ่ม 9   วันที่ 30 กค.-3 สค. 2555
2  วิธีการจัด
   -จัดแบบเป็นทางการ
กำหนดจุดมุ่งหมาย
รูปแบบการสอนต่างๆ  -การประกอบอาหาร
                                   -โครงการวิทยาศาสตร์
                                   -ทัศนะศึกษา
   -จัดแบบไม่เป็นทางการ
จัดมุมวิทยาศาสตร์
สภาพแวดล้อมที่ควรเตรียม
จัดตามเหตุการณ์ - ธรรมชาติ
                            - สิ่งที่เคยพบเห็น
3 วิธีการใช้สื่อ
  -เลือก
เหมาะสมกับหน่วย
เหมาะสมกับพัฒนาการ
เหมาะสมกับเวลาและสถานที่
เหมาะสมกับกิจกรรม
  -เตรียม
อุปกรณ์
ทดลองใช้ก่อนที่จะนำไปสอนเด็ก
   -ลงมือปฎิบัติ
ประเมินผล
4  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
    - กระบวนการเบื้องต้น
การพยากรณ์  คือ  การคำนวณสิ่งที่เกิดขึ้น  ข้อมูลที่มีพื้นฐานเยอะ
การจำแนกประเภท  คือ การวิเคราะห์ต้องมีเกณฑ์ เช่น สัตว์ปีก มี 2 ขา
การวัด คือ การวัดเชิงปริมาณ มีการตวง การวัด การชั้ง
การสังเกต คือ การเก็บรวบรวมข้อมูล ประสาทสัมผัสทั้ง 5
การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา
การสื่อความสื่อความหมาย คือ ของที่แทนด้วยความหมาย
การคำนวณ  คือ การหาค่าจากการเฉลี่ย
    -กระบวนการผสม
การตั้งสมมุติฐาน
การกำหนดเชิงปฎิบัติ  คือ  การใช้ระยะเวลา  กำหนดการ
การกำหนดและควบคุมตัวแปร  คือ  มีการควบคุมและสมองใกล้เคียงกัน
การทดลอง  คือ การลงมือปฎิบัติ
การตีความหมายข้อมูลและสรุป  คือ การสรุปการทดลองเดิมให้ดีขึ้นกว่าเดิม

      การบ้าน
1  ให้จับกลุ่ม 5 คน และไปจับฉลาก  และเขียนมายแม็ปปิ้งแผ่นใหญ่ 1 แผ่น  โดยสมาชิกในกลุ่มต้องรู้เรื่องหน่วยการสอนทั้ง 5  วัน แต่ให้แต่ละคนเลือกมาคนละ 1 วัน
2  ให้แต่ละกลุ่มไปเอาหน่วยการสอนที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม

      หมายเหตุ
อนุบาล 1 มีการเรียนรู้เดิมและมีสื่อ สามารถอ่านจากภาพได้
อนุบาล 2 มีการกระตุ้นใช้เหตุผล  มีสื่อประสม
อนุบาล 3 มีคำถามให้คิดวิเคราะห์โดยใช้เหตุและผล




                




              

ไม่มีความคิดเห็น: