25 ก.ย. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 17 25/09/2555

     


                                สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ   บรรยากาศในห้องวันนี้สนุกสนานและอบอุ่น
แต่อาทิตย์นี้สิ้้นสุดการเรียนการสอน   เพราะจะสอบปลายภาคอาทิตย์หน้า

                                วันนี้อาจารย์ได้กล่าวถึงการทำบล็อกให้เป็นกิจวัตรและการมาเรียนต้องจดบันทึกออกมาให้เราได้เข้าใจในวิชาที่เรียนและสามารถนำกลับไปทบทวนได้    การเรียนในห้องเรียนถ้าอาจารย์สอนไม่เข้าใจให้ถาม    การเรียนของนักศึกษาเอกปฐมวัยมีการเรียนที่หลากหลายและสามารถนำไปใช่เชื่อมโยงกับวิชาต่างๆได้  แต่นักศึกษามีข้อจำกัดคือ การเรียนโดยการนำเสนอยังไม่ถูกต้องเท่าที่ควร เพราะการเรียนเอกปฐมวัยสามารถนำไปใช่ได้กับชั้นประถมศึกษา  สามารถเรียนต่อปริญญาโทเพื่อจะสอบเป็นผู้บริหารสถานศึกษาได้    อาจารย์ให้แสดงความคิดและวิเคาระห์ให้เป็น อาจารย์ให้โจทย์มา 2 ข้อ

                                การเขียนอนุทิน  ต้องเขียนสรุปให้ถูกต้อง  การเขียนบล็อกเมื่อทำเป็นประจำอาจารย์ก้สามารถประเมินนักศึกษาเป็นระยะได้  ไม่ใช่ว่าจะมาทำตอนสอบเพระอาจารย์จะประเมินไม่ได้
วัตถุประสงค์การสอนของอาจารย์  อาจารย์จะสอนตามวัตถุประสงค์ที่อาจารย์วางไว้  เพื่อให้เด็กเรียนรู้  การใช้เทคโนโลยีมีเยอะแยะมากมายที่สามารถสืบค้นคว้าหาข้อมูล  เพราะการเรียนรู้เราต้องวิ่งให้ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ได้และต้องอยู่กับเทคโนโลยีที่เป็นปัจจุบัน   แหล่งเรียนรู้เมื่อเราอยากรู้เรื่องอะไรก็สามารถค้นคว้าได้ถูกต้องเพราะเรามีหลักการ

                              การประเมินนักศึกษาของอาจารย์  อาจารย์จะประเมิน ครูประเมินลูกศิษย์  เพื่อให้ลูกศิษย์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง   การที่เรากลับไปอยู่ต่างจังหวัดแต่เราก็จะหลักการเหมือนกัน
เหตุผลที่อาจารย์ให้ทำบล็อก เพราะต่อไปเด็กต้องใช้แทพเล็ตครูก็ควรต้องรู้และทันกับเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
                       
                             วิธีการเรียนรู้
- แผนที่ความคิด
- ลงมือปฎิบัติในชั้นเรียนและสภาพจริง
- สืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง
- เขียนบันทึก
- ระดมความคิด
- กระบวนการแก้ปัญหา
- การเป็นแบบอย่าง เช่น ใช้การสาธิต
การเรียนการสอนของอนุบาลเป็นองค์รวมสามารถบรูณาการได้ทุกวิชา


 หมายเหตุ   สอบ 10 คะแนน

                  เรียนเรื่องอะไรไปอาจารย์ก็จะออกตามที่ได้เรียนไป
                               

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16 18/09/2555



                 สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ   วันนี้บรรยากาศในห้องเรียนอบอุ่นค่ะ
เพราะอาจารย์ได้ถามนักศึกษาในห้องว่าใครมีความสามารถในตนเอง  เพื่อดึงประสบการณ์เดิมจากมัทธยมปลาย  เพื่อไม่ให้หายไปอาจารย์จึงจะสานต่อและเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย ที่มีพัฒนาการทั้ง  4 ด้าน


                  อาจารย์ย้ำเรื่องบล็อกของนักศึกษาทุกคนว่าต้องทำเป็นประจำและเป็นกิจวัตร  เพราะอาจารย์จะตรวจไปเรื่อยๆเพื่อประเมินสม่ำเสมอ    และใครที่เปิดบล็อกไม่ได้อาจารย์จะไม่ให้ติด I  เพราะอาจารย์คิดว่าอาจารย์ได้บอกและย่ำทุกคาบที่อาจารย์สอน   อาจารย์ได้อบรมคุณธรรม จริยธรรม ว่านักศึกษาทุกคนต้องรักในวิชาชีพของตนเองทุกคน  ตอนนี้นักศึกษากำลังเรียนก็ต้องทำหน้าที่ของตนเองให้สุดความสามารถ  เทคโนโลยีที่แต่ละคนสามารถใช่ให้เกิดประโยชน์กับวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด้กปฐมวัยได้มากมาย


                 อาจารย์ให้ออกไปนำเสนองานทดลองที่ไปจัดให้น้องๆโรงเรียนสาธิตจันทรเกษม    การที่เราไปจัดกิจกรรมให้กับน้องเราก็ต้องสอดแทรกการเรียนรู้ไปในตัว  เพราะกระบวนการวิทยาศาสตร์ต้องมีการสมมุติฐานเพื่อให้ประสบการณ์กับน้องๆ
การประเมิน
1 ตั้งคำถาม สนทนา
2 ผลงาน
3 สังเกตโดยการบันทึก
4 สัมภาษณ์
5 แบบฝึกหัด (โดยใช้การทดลอง)

                 กลุ่มดิฉันได้ออกไปนำเสนองาน  หลังจากไปจัดกิจกรรมให้กับน้องๆโรงเรียนสาธิตจันทรเกรษม
จากการทดลองโดยการสนทนา
ถามน้องๆว่า ไข่นี้สามารถลงไปอยู่ในขวดได้ไหม
-  น้องบางคนบอกว่า ลงไปได้เพราะอากาศในขวดดูดลงไป
-  น้องบอกว่าลงไปได้เพราะน้องเคยทดลงในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แล้ว
-  น้องบางคนบอกว่าไข่ลอยน้ำ เพราะหันไปเห็นน้ำที่อยู่ในแก้ว
-  น้องบางคนบอกว่าลงไม่ได้เพราะไข่ใหญ่กว่าขวด

หลังจากนั้น ก็ได้ทดลองให้น้องๆดู และได้สนทนากับน้องๆว่าไข่สามารถลงไปอยู่ในขวดได้เนื่องจากเราจุดไฟที่ทิชชูแล้วนำทิชชูใส่ลงไปในขวด  เมื่อไฟดับอากาศภายในขวดจะขยายตัวและลอยออกมาจากในขวด  ทำให้ความดันอากาศลดน้อยลงกว่าอากาศภายนอก จึงทำให้อากาศภายนอกที่มีอยู่มากดันไข่ต้มลงไปในขวด

                 นอกจากนี้น้องๆบางคนก้ออยากทดลงบาง แต่การจุดไปกลุ่มดิฉันจะจุดให้แล้วให้น้องๆนำไข่วางบนปากขวด  พอแรงดันดูดไข่ลงไปจะมีเสียงดังน้องๆก็ตกใจและหัวเราะอย่างสนุกสนานค่ะ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 11/09/2555



                           สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ   บรรยาหาศการเรียนวันนี้สนุกสนานมากค่ะ  เพราะได้ลงมือปฎิบัติการทดลองให้กับน้องๆที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม    ตื่นเต้น สนุนสนาน  มีความสามัครคีกันและงานในวันนี้ได้บรรลุล่วงไปได้ด้วยดี  ชองกิจกรรมแบบนี้มากค่ะและอยากให้อาจารย์สอนแบบนีเพราะได้สัมผัสการเรียนการสอนแบบจริง  ทำให้ได้ความรู้โดยตรง

                       
                                                                 กิจกรรม  ขวดกินไข่
         
                   แนวคิดการดูดไข่ลงขวด

1 เมื่อไข่ได้รับความร้อนจากควันทิชชู้ ที่อยู่ในขวด
2 ทำให้อากาศในขวดขยายตัวลอยออกจากปากขวดและความดันอากาศในขวดลดน้อยลงกว่าความดันอากาศภายนอก
3 ทำให้อากาศภายนอกที่มีอยู่มากนั้นดันให้ไข่ตกลงไปในขวด

                   อุปกรณ์การทดลองการดูดไข่ลงขวด

1 ไข่ต้มสุก
2 ขวดปากแคบ
3 เทียนไขหรือกระดาษทิชชูก็ได้
4 ไม้ขีดไฟ

                   วิธีการทดลองการดูดไข่ลงขวด

วิธีที่ 1

-  นำเทียนไข(เที่ยนวันเกิดเล่มเล้ก)มาปักบนไข่ไก่ 3 แท่ง
-  จุดเทียนไขที่ปักบนไข่ทั่ง 3 แท่ง
-  นำขวดปากแคบที่เตรียมไว้และนำไข่มาวางที่ปากขวด  เอาไข่ส่วนที่ปักเทียนลงล่างขวด
-  หลังจากที่วางไข่เสร็ดเทียนจะดับ
-  สังเกตไข่ต้มบนปากขวดจะถูกดูดลงไปในขวด

วิธีที่ 2  (ใช้วิธีนี้เป็นการทดลองกิจกรรม)

-  นำขวดปากแคบมาวางบนโต๊ะ
-  นำกระดาษทิชชูมาจุดกับไม้ขีดไฟที่เตรียมไว้
-  หลังจากกระดาษทิชชูติดไฟให้นำลงไปใส่ในขวดที่เตรียมไว้
-  นำไข่ต้มมาวางบนปากขวด
-  สังเกตไข่ต้มที่อยู่บนปากขวดจะถูกดูดลงไปในขวด

     หมายเหตุ  การทดลองนี้ควรอยู่ในความดูแลของครูและผู้ปกครองอย่าใกล้ชิด  เนื่องจากต้องใช้ไฟในการทดลองเพราะอาจเกิดอันตรายได้

                   สรุปผลการทดลองการดุดไข่ลงขวด

          -  สาเหตุที่ไข่ถูกดูดลงไปในขวดได้  เนื่องจากเมื่อเราจุดไฟลงไปในขวดเมื่อไฟลงไปในขวด  เมื่อไฟดับอากาศในขวดจะขยายตัวและลอยตัวออกมาจากปากขวด  ทำให้ความดันอากาศในขวดลดน้อยลงกว่าอากาศภายนอก  จึงทำให้อากาศภายนอกที่มีอยู่มากดันไข่ต้มให้ลงไปในขวดปากแคบ


                                                         รูปกิจกรรม





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 04/09/2555



                      สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ     วันนี้บรรยากาศในชั้นเรียนสนุกสนานเฮฮา  การเรียนไม่เครียดเรียนได้เข้าใจและไม่เบื่อ

                   
                     อาจารย์ได้กล่าวถึงการเข้าอบรมนิทานของอาจารย์ กรรณิการ์   สุสม   ที่จะเข้าในวันเสาร์ที่จะถึงนี้   การที่ได้เข้าอบรมนี้มีประโยชน์ต่อตัวนักศึกษามาก   เพื่อจะนำไปใช้ในอนาคตได้

                   
                     อาจารย์ได้สอนถึงภาพ  2 มิติ  และ3 มิติ  ภาพ 2 มิติ  คือภาพวาด  ภาพถ่าย  ภาพลายเส้น  สัญญาลักษณ์        ส่วนภาพ 3 มิติ  คือ  ภาพนูน   มองได้หลายๆมุม
อาจารย์ได้ทวนความจำเกียวกับเกมการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
1  เกมโดมิโน             2  เกมจับคู่
3  มิติสัมพันธ์             4  อุปมา  อุปมัย
5  ลอตโต้                  6  จิ๊กซอ
8 อนุมาน                   9  ตารางสัมพันธ์
10  พื้นที่และเวลา  เป็นต้น

                 
                      อาจารย์ให้ส่งบอร์ดที่ทำในอาทิตย์ที่แล้ว   อาจายร์ได้อธิบายการทำบอร์ดของแต่ละกลุ่มว่าเราควรจะจัดในรูปแบบไหนจึงจะดูดีและให้เหมาะสมกับเนื้อหาและดึงดูดความสนใจให้แก่ผู้อ่าน
การจัดเตรียมการทดลองที่จะไปลงกับโรงเรียนสาธิตจันทรเกษม
1 อากาศ  อากาศต้องการที่อยู่  อากาศมีแรงดัน  อากาศก๊าซโดนความร้อน
2 น้ำ        แรงดันของน้ำ   การเปลี่ยนสถานะ
อาจารย์ให้จับกลุ่ม 3 กลุ่มใหญ่   แต่ทุกคนต้องเรียนรู้ทุกกลุ่ม


 หมายเหตุ     วันที่ 11  กันยายน 2555  อาจารย์ให้ไปจัดกิจกรรมที่สาธิต  คือการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ได้    
                    จัดเตรียมไว้   ให้เตรียมของให้เรียบร้อยและให้เขียนอุปกรณ์ที่จะต้องเบิกมาให้อาจารย์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 28/08/2555



               
                          สวัสดีอาจารย์ค่ะอาขารย์ที่เคารพ

           เนื่องจากวันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเพราะ อาจารย์ไปประชุม

หมายเหตุ   อาจารย์สั่งงาน  คือ  ให้ทำบอร์ดที่เข้าอบรมครั้งที่แล้ว  3 คน ต่อ 1 บอร์ด ทำให้สวยงามและ               
                 ส่งในคาบ

3 ก.ย. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 25/08/2555


                     สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ   บรรยากาศการอบรมวันนี้ก็มีแปลกหน้าแปลกตา เพราะได้มีภาคสมทบเข้ามาอบรมด้วยก็รู้สึกดีใจที่อาจารย์ได้ให้ภาคสมทบเข้าร่วมกิจกรรม  จึงทำให้เราได้รู้จักกันมากขึ้นและวิทยากรณ์ก็น่ารักมากๆ   ชอบสไตล์การแต่งตัวของท่านวิทยากรณ์มองเรามีความสุข  ท่านได้เป็นตัวของตัวเองและเป็นกันเองกับพวกเรามาก

     








1 ก.ย. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 21/08/2555


                สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ    วันนี้บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานเฮฮา  และอาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 11 คน  มี  4 กลุ่ม   อาจารย์ได้แจกหนังสือให้แต่ละกลุ่มและให้เลือกหน่วย  1 หน่วย   มาเสนอในการเรียน   กลุ่มดิฉันเลือก  บุคคลและสถานที่

               กลุ่มที่ 1   ตัวเรา    หน่วย   ร่างกายของหนู
                                                     สัมผัสทั้ง  5
                                                     อาหารดีมีประโยชน์
                                                     ผลไม้น่ารับประทาน

               กลุ่มที่ 2   บุคคลและสถานที่    หน่วย  บ้านน่าอยู่
                                                                      แม่จ๋า

               กลุ่มที่ 3  ธรรมชาติรอบตัว  หน่วย  ฝนจ๋า
                                                                น้ำเพื่อนชีวิต
                                                                ต้นไม้ให้ร่มเงา
                                                                อากาศ
                                                                กลางวันกลางคืน
                                                                เจ้าแห่งแสงแดด
                                                                โลกของเรา
                                                             
               กลุ่มที่ 4  สิ่งต่างๆรอบตัว  หน่วย  วิทยาศาสตร์น่ารู้
                                                              พลังงาน

มาก่อนฝน  แนวคิด  น้ำเมื่อได้รับความร้อนบ้างส่วนจะกลายเป็นก๊าซ เรียกว่า ไอน้ำ
                ขั้นตอน  1 นำขวดแก้วที่แช่เย็นเอาไว้โดยเด็กบอกความรู้สึกที่สัมผัสได้
                             2 เทน้ำอุ่นลงในขวดประมาณครึ้งขวด วางก่อนน้ำแข็งไว้บนปากขวด
                             3 เด็กสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
                             4 อาสาสมัครเป่าลมแรงๆเข้าไปในขวดที่แช่เย็นใบที่ 2
                             5 เมื่อหยุดเป่าจะเห็นกลุ่มเมฆจางๆ
                  สรุป     1 เมฆจะก่อตัวขึ้นจากไอน้ำที่อยู่ในขวดซึ่งควบแน่น  เพราะได้รับความเย็นจากน้ำแข็ง                   2 กลุ่มเมฆจางๆในขวดเกิดจากอากาศในขวดขยายตัวและแผร่การกระจายออกไป
                             3 สภาพถายในขวดเย็นลง ดังนั้นไอน้ำจากลมหายใจจึงควบแน่นกลายเป็นเมฆหรือละอองน้ำ

ใครใหญ่  แนวคิด  น้ำจะถูกแทนที่ด้วยขนาดของมือเราเอง
              ขั้นตอน  1 นำขวดแก้วใสมาวางไว้บนโต๊ะกลางวง
                           2 เทน้ำใส่ลงไปให้ได้ครึ้งขวดทำเครื่องหมายระดับน้ำเอาไว้
                           3 ให้เด็กกำมือของตนเองหย่อนลงไปในขวดทีละคน
                           4 ครูจะทำเครื่องหมายกำกับของทุกคน
                           5 ให้เด็กช่วยกันสรุปผลจากการทดลอง
              สรุป       ระดับน้ำในขวดแก้วใสจะสูงขึ้นมาจากเดิม  ตามขนาดเท่ากับฝามือของเด็กแต่ละคน

ใบไม้สร้างภาพ  แนวคิด  สีจากใบไม้สดสามารถสร้างภาพได้เหมือนจริง
                       ขั้นตอน  1 เด็กสังเกตลักษณะของใบไม้ที่เก็บมา
                                    2 นำกระดาษวาดภาพมาพับเป็นสองส่วนเท่าๆกัน
                                    3 วางใบไม้ทีละใบระหว่างกระดาษวาดเขียนที่พับไว้
                                    4 ใช่ก้อนไม้ค่อยๆเคาะลงบนกระดาษของบริเวณที่มีใบไม้อยู่
                                    5 เมื่อกระดาษวาดเขียนออกให้เด็กช่วยกันหาเหตุผล
                         สรุป     1 น้ำสีจากน้ำใบไม้สดจะเป็นรูปร่างขั้นบนกระดาษ
                                    2 โครงสร้างที่ได้จะได้ใบไม้ของจริงที่เป็นรูปแบบ
                                    3 สีจากใบไม้เป็นสีธรรมชาติที่เราจะนำไปทำอะไรได้อีกบ้าง

ทำให้ร้อน  แนวคิด   แรงเสียดทานเป็นแรงซึ่งพยายามหยุดการลื่นไหลไปบนสิ่งต่างๆพลังงาน
                ขั้นตอน   1 ครูแจกดินสอกับหนังสือให้เด็กคนละหนึ่งชุด
                              2 ให้เด็กจับดินสอด้วยมือที่ถนัด
                              3 ถูไปมากับหนังสือประมาณ 5 นาที
                              4 ดินสอส่วนที่ได้ถูไปกับหนังสือไปกับผิวหนัง เช่น แขน , ริมฝีปาก
                              5 เด็กบอกความรู้สึกจากการสัมผัส
                 สรุป       1 แรงเสียดทานระหว่างดินสอกับสันหนังสือทำให้เกิดความร้อน
                              2 นำส่วนที่ถูกับสันหนังสือของดินสอมาแตะที่ผิวหนังส่วนใดส่วนหนึ่งเฉพาะริมฝีปากจะมีความรู้สึกว่าร้อน

หมายเหตุ- การบ้าน  จับกลุ่ม 4 คน  เลือก1 หน่อยทำการทดลอง  เชิงทดลอง
                  กลุ่มดิฉันเลือกหน่อย    



























         

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 14/08/2555


                     สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ

หมายเหตุ -  วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน 

                   เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม  อาจารย์จึงให้เรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน   พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 7/08/2555


             สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ

  หมายเหตุ-  วันนี้ไม่มีการเรียนกาอนสอน
                    เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม    และจึงนัดเรียนชดเชยในวันเสาร์ที่  25 สิงหาคม  พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8 31/07/2555

          สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ

หมายเหตุ-  วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
                 เนื่องจากทางมหาลัยราชภัฏจันทรเกษมได้มีการสอบกลางภาคของนักศึกษา  ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม - วันที่ 6 สิงหาคม พ.ส. 2555

5 ส.ค. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 24/07/2555

                 สวัสดีอาจารย์ที่เคารพ  วันนี้บรรยากาศในห้องหนาว


                 วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงสัปดาห์วิทยาศาสตร์  วันที่17-31  สิงหาคม พ.ศ. 2555   ที่ไบเทคบางนา   เพราะมีเพื่อนๆบอกว่างานวิทยาศาสตร์มีวันที่เท่าไหร่  และอาจารย์ได้บอกว่าคนเราทุกคนต้องเป็นคนชั่งสังเกต  ซึ่งการสังเกตคือนักวิทยาศาสตร์    และอาจารย์ได้เล่าเรื่องหมา  ว่ามีหมาเกิดอยู่ใต้บันไดแล้วผู้ใหญ่ ใช้ให้เด็กคนหนึ่งไปดูว่าหมาเกิดลูกกี่ตัว  เด็กคนนั้นก็วิ่งลงไปดูแล้วก็วิ่งขึ้นมาบอกผู้ใหญ่   แล้วก็ถามเด็กต่อไปว่ามีสีอะไรบ้าง  เด็กคนนั้นก็วิ่งลงไปดูว่าลูกหมาที่เกิดมีสีอะไรบ้างแล้ววิ่งขึ้นมาบอก

                   อาจารย์ได้พูดถึงสัปดาห์วิทยาศาสตร์อีกครั้ง คือการไปดูวิทยาศาสตร์  การไปเราต้องไปด้วยรถเมแอร์บัส  ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ที่ไปดูไปในฐานะครูศึกษาดูงาน  เช่น  พิภิธภัณฑ์สัตว์น้ำ  พิภิธภัณฑ์เด้กที่สวนรถไฟ   หอดูดาว  ท้องฟ้าจำลอง   สิ่งที่เป็นธรรมชาติในชีวิตและกายภาพ  การไปศึกษานิทรรศการจะได้ประโยชน์และความรู้มากกว่า

                    การจำแนกของเด็กต้องมีเกณฑ์เดียว  เช่น  ผลไม้มีสีแดง  สีเขียว  สีแดงปนเขียว   ให้เด็กได้หยิบผลไม้สีแดงมา  1  ผ  ล  ,  ของที่ใช้เขียนมีอะไรบ้าง  ช็อค  เทียน  ดินสอและปากกา เป็นต้น ,  ของที่ให้แสงสว่างคือ เทียน   เด็กจะตอบด้วยการมองเห็นเท่านั้นแต่ต้องนำมาวิเคราะห์
ดินสอ  -  ลักษณะและประโยชน์   ใช้เขียน,ใช้วาด,  ประโยชน์และประโยชน์ลอง(โทษ)
การที่ให้เด้กวาดรูปปลาให้เด็กดึงประสบการณ์เดิมและสามารถบอกได้มากที่สุด   แล้วให้เด็กจับกลุ่มเล่านิทานของเด็ก  เพื่อใช้วรรณกรรมใหม่สามารถนำไปประเมินผลงานของเด็กและทำให้เด็กได้เกิดทักษะทางสังคม
                  ตัวที่ดีที่ช่วยประสบการณ์เดิม  คือ งานศิลปะ,งานประดิษฐ์ปั้น วาด, งานศิลปะสะท้อนวิทยาศาสตร์
                  ชื่อปลาที่เด็กรู้จัก
           จินจุฑา- ปลาทอง
           ชวนชม- ปลาบู่
           ดาราวรรณ- ปลาดุก
           อัญฉรีพร- ปลาช้อน
         
                    อยากรู้เรื่องที่เกี่ยวกับปลา
           นิค- ปลานอนหรือป่าว
           ศิริรัตน์-ทำไมปลาต้องอยู่ในน้ำ
           ดาราวรรณ- ปลากินอะไรเป็นอาหาร
           ธิดา- ปลาคลอดลูกทางไหน
           ยมลพร- ปลาฉี่ทางไหน

                     วิธีการ
เอาปลาของจริงมาให้เด็กๆดู,วีดีโอ ,ไปทัศนศึกษา, เอารูปภาพมาให้ดู, เอาผู้รู้มาเล่าให้เด็กฟัง

           
                  การสอนต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กมองรู้
    การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน
-วีดีโอ เป็นสื่อการสอนของครูและข้อมูลความรู้
-ไปทัศนศึกษาและให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รู้มาเล่าให้ฟัง
-นำรูปให้เด็กดูเพื่อเป็นสื่อการสอน
-เด็กได้เรียนรู้การตกปลา
-นำอาหารที่นำปลามาประกอบอาหาร

                  การสะท้อนกลับ
-ทำมายแมปปิ้ง
-แสดงบทบาทสมมุติ
-เกมเกียวกับปลา
-หนังที่มีปลาแสดง
-จัดนิทัศน์การณ์
-แต่งเพลง  แต่งนิทาน แต่งกลอน

                  การเขียนแผนต้องยึดหลักวิทยาศาสตร์
ต้องมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน  ด้านสังคม ด้านอารมณ์-จิตใจ  ด้านร่างกายและด้านสติปัญญา
ประสบการณ์สำคัญของหน่วยและพร้อมทั้งบรูณาการ
อาจารย์พูดถึงเทคนิคร้องเรียงแผนปกติ
  1 จุดประสงค์  - หวังว่าเด็กได้รับทักษะและรับประสบการณ์สำคัญทางวิทยาศาสตร์
  2 เนื้อหา - สาระสำคัญ  จัดแผนกิจกรรม(ผ่านเกมการศึกษา)
ประสบการณ์สำคัญยกภาษา 1 ข้อ, สังคม 1  ข้อ, ร่างกาย 1 ข้อ และสติปัญญาด้านวิทยาศาสตร์ 1 ข้อ เช่นเปรียบเทียบ
     ขั้นนำ   
     ขั้นสอน รากจากขั้นนำมา
     ขั้นสรุป  เช่น มายแมปปิ้ง เพลง
     สื่อที่ใช่  เพลง กระดาษ รูปภาพ
     การประเมิน  การสังเกตโดยการบันทึก
                                           
                                                           การเขียนแผน
  1  จุดประสงค์
  2  สาระสำคัญ
-ประสบการณ์สำคัญทั้ง  4 ด้าน
-ขั้นนำ 
-ขั้นสอน    กิจกรรม
-ขั้นสรุป  
  3สื่อ
  4การประเมิน

หมายเหตุ-เขียนแผนของแต่ละคนส่ง
ทำหลังสอบ
11 คน กลุ่ม น้ำ
11 คน กลุ่ม อากาศ
11 คน กลุ่ม แสง
11 คน กลุ่ม ประกอบอาหาร

     การนำเสนองาน
1 เขียนสคริป
2 การสังเกต
3 การซักถาม

     การทดลอง










23 ก.ค. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 16/07/2555

                     สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ  บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้สนุกสนานมากเพราะเฮฮ่าตั้งแต่เช้า
วันนี้อาจารย์เช็คชื่อเวลา 08.45 น.

                      อาจารย์ได้ให้ส่งงานและบอกว่าถ้าของเล่นที่ประดิษฐ์จะเอาไปให้น้องๆที่สาธิตเล่น ของใครแข็งแรงคงทนจะได้คะแนนมากกว่าเพื่อน  อาจารย์ได้พูดถึงงานวิทยาศาสตร์และสอนว่าวิทยาศาสตร์มี่ดังนี้
1 การจำแนก
2 การสงความหมาย
3 การสัมพันธ์

                    การประดิษฐ์ของเล่นต้องประดิษฐ์ของเป็นแบบรูปธรรมของเล่นต้องจับต้องได้  เพราะเด็กจะเรียนรู้โดยการสัมผัส
                    อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มที่เคยแบ่งกันไว้คือ การแบ่งเป็นหน่วยและชั้นอนุบาลจะมี 3 กลุ่มใหญ่
และ 9 กลุ่มย่อย  เพื่อรวมกลุ่มกันของหน่อยตนเองมาสรุปเรียบเรียงเป็นแมปแผ่นใหญ่ในหนึ่งหน่วย
กลุ่มของดิฉันได้หน่วย ผักสดแสนอร่อย ก็จะให้อนุบาล1 เป็นรากฐาน เพราะเด้กอนุบาล1 ต้องเรียนรู้แบบพื้นฐาน อนุบาล 2 ก็เติ่มการเรียนรู้มาอีกเพื่อดึงประสบการณ์เดิมมาใช้และเพิ่มประสบการณ์ใหม่
อนุบาล 3 ก็จะเพิ่มความรู้มากขึ้นสามารถให้เหตุผลได้และเข้าใจถึงประโยชน์ของผักมากยิ่งขึ้นและส่วนประกอบเล็ก ซึ่งสามารถรับรายละเอียดมากยิ่งขึ้น

                   การบ้าน  อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มย่อยของตนให้แบ่งวันว่าตนเองจะเอาวันอะไร และเขียนเป็นแมปของแต่ละวันออกมาส่งอาจารย์ในวันศุกร์

  แก้ไขงาน กล้องมหัศจรรย์
                                               



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 10/07/2555

           สวัสดีอาจารย์ที่เคารพค่ะ   วันนี้บรรยากาศในห้องเรียนหนาวมากและอาจารย์เริ่มเช็คชื่่อ เวลา08.45 น. ใครมาช้ากว่านี้ถือว่ามาสาย

           วันนี้อาจารย์ให้ส่งงานมายแมปปิ้งสำหรับกลุ่มที่ยังไม่ได้ส่ง และอาจารย์ให้นำเสนองานวิทยาศาสตร์ กลุ่มละ 1 ชิ้น   อาจารย์สอนการแนะนำตัวในการออกมาเสนองาน
1  กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพ
2  แนะนำตัวเอง
3  แนะนำชื่อและอุปกรณ์ของงาน

            กลุ่มที่ 1  นักดำน้ำ                             กลุ่มที่ 2  การเป่าอากาศ
            กลุ่มที่ 3  กล้องมหัศจรรย์                    กลุ่มที่ 4  กระดาษเต้นระบำกับจรวจรวงเวียน
            กลุ่มที่ 5  กระแสลม                           กลุ่มที่  6  โบว์ลิ้งกลิ้งและรถเป่าลม
            กลุ่มที่ 7  เสียงมหัศจรรย์และมือหุ่นยนต์    กลุ่มที่  8  ตุ๊กตากลมๆกลิ้งๆและหนูกะลาวิ่ง
            กลุ่มที่ 9  คอปเต้อร์ไม้ไผ่และจรวจ      กลุ่มที่ 10 กังหันและการเปรียบเที่ยบเสียง
            กลุ่มที่ 11 หลอดกาแฟ                       กลุ่มที่ 12 ทะเลในขวดและฟองสบู่มหัศจรรย์
            กลุ่มที่ 13 แรงบันดาลใจจากหอย      

            อาจารย์ให้แก้ไขงานและหาอุปกรณ์ให้เหมาะสมใส่ให้เรียบร้อย
หมายเหตุ- การเสนองานต้องส่งผ่านอาจารย์ก่อนถึงจะมาเสนองานได้เพราะอาจารย์จะได้ตรวจเพื่อไปแก้ไขให้เหมาะสม

            อาจารย์สั่งงานเพื่อนที่ไม่ส่งงานให้ไปทำเสียงที่ต่างระดับกัน

                                 
                                              ของเล่นวทยาศาสตร์




6 ก.ค. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 3/07/2555

         สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ   วันนี้บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานมากค่ะ เพราะอาจารย์เป็นกันเองที่สุด   อาจารย์ได้เริ่มการสอนโดยการพูดเรื่องบล็อกให้นักศึกษาใส่เลขที่ใหม่ล่าสุด และอาจารย์ลิ้งค์รายชื่อนักศึกษากลุ่ม 102  มี 44 คน อาจารย์จะเช็คชื่อ 08.45 น. ทุกครั้ง

          วันนี้อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหาที่เป็นข้อความและสรุปมาเป็นข้อคิดและเชื่อมโยงมาเรืื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด๊กปฐมวัย  การที่เราทำอะไรก็ต้องดูองค์ประกอบหลายๆอย่าง คนที่เป็นครูต้องมีจรรยาบรรณคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นครู   ไม่ดูถูกตัวเองต้องบูชาครูที่เคยสอนเรามา  ครูต้องมีความรู้ต้องหาทักษะเนื้อหาใหม่ๆ กัลยาณมิตรต่อเด้ก ฝึกฝนค้นหาเนื้อหาเยอะๆในการการฝึกฝน  จะได้มีทักษะการออกไปสอนอย่างถูกต้องและมีความสุขในการออกฝึกสอน
           การสอน
1. เนื้อหาการสอน ว่าจะสอนอะไร
2. ข้อคิด
3. บรรยากาศ เทคนิคการสอนต้องน่าสนใจ
4. นำไปใช้ในชีวิตได้หรือไม่ ประยุกต์ใช้ได้อย่างไร
5. มีการจัดเรียงลำดับเป็นอย่างไร จากง่ายไปยาก-จากยากไปง่าย นามธรรมมาเป็นรูปธรรม
6. นำเสนอ จะสอนเทคนิคอย่างไร

           อาจารย์ให้ดูวีซีดี วิทยาศาสตร์แสนสนุก  เรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ
ขั้นนำมีเพลงและตัวละครคือ ตุ๊กตา 2 ตัว
           อากาศในโลกนี้มีความร้อน  เพราะมนุษย์มีน้ำในร่างกาย ร่างกายของมนุษย์จะขับเหงื่อออกมาจากร่างกายจะทำให้รู้สึกเพลีย  การที่เราดื่มน้ำมากๆสามารถมาทดแทนการสูญเสียเหงื่อที่ขับออกมาจากร่างกายได้
           หมีได้ทดลอง
แอปเปิ้ลและแคลรอท  หั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้วนำแอปเปิ้ลและแคลรอทไปปั้นให้ละเอียดแล้วหมีได้ลองบีบผลไม้ที่ปั่นดูว่ามีน้ำ  สิ่งต่างๆในโลกนี้มีน้ำเป็นส่วนประกอบของคน 70 เปอร์เซน ผลไม้มี  90  เปอร์เซน
น้ำในร่างกายของคนเราจะปรับร่างกายให้สมดุล  ถ้าคนเราขาดน้ำ 3 วัน คนต้องตาย  เช่น ในทะเลทราย  ชีวิตในทะเลทรายสามารถปรับสภาพกับสิ่งแวดล้อม คือ อูฐสามารถอดน้ำได้ประมาณ  10 วัน อูฐมีไขมันที่นูนขึ้นมาตรงนั้นและที่ทำให้อูฐสามารถอยู่ในทะเลทรายได้  ต้นกระบองเพรช สามารถอดน้ำได้เป็นเดือนๆ   เพราะน้ำอยู่ในลำต้น
           ฝนตกเกิดจาก  คุณสมบัติของน้ำ  ของเหลว ของแข็ง  และก๊าส คืออากาศ  กลับไปกลับมา
หมีได้ทดลอง ต้มน้ำแข็งให้เดือด น้ำแข็งเริ่มละลายเป็นของเหลวต้มจนมีไอน้ำขึ้น  จากนั้นไอน้ำที่มีระยะห่างจากไฟพอสมควร  ที่ก้นจานมีหยดน้ำ  น้ำแข็งเปลี่ยนจากของเหลวเป็นก๊าส  ก๊าสเป็นของเหลวคือการควบแน่น  การเกิดฝนมีลักษณะคล้ายกับการทดลอง  โดยที่เราไม่สามารถมองเห็นได้
การไปรวมตัวของความร้อนจะเหิดเป็นของแข็งการควบแน่น รวมตัวกันเป็นก้อนเมฆบนฟ้าแล้วก่อตัวเป็นที่มาของฝนที่ตกลงมา
            หมีได้ทดลองแอ่งน้ำ
อุปกรณ์
แก้วน้ำ  1 ใบ
จานปากกว้าง 1 ใบ
แต่ปริมาณน้ำเท่ากัน นำไปตากแดด 1 วัน ทั้งสองใบ  น้ำในจานปากกว้างหายไปเกือบหมดน่าจะระเหยส่วนบนของผิวน้ำ  น้ำที่ใช่จานปากกว้างเมื่อโดนความร้อนจะระเหยเร็วกว่า แก้วน้ำ
การสอนต้องมีวิธีดังนี้
1. การสอน คือ การใช้เทคนิคการทดลอง
2. การสอนของอาจารย์โดยการดู วีซีดี  ในด้านเทคนิคการสอน
3. วิเคราะห์
4. สื่อ  (ตัวหมีอนิเมชั่นอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น,การทดลอง, ยกตัวอย่าง
5. เนื้อหา (ไม่ใช่หัวใจหลัก) สามารถแตกให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและอธิบาย(น้ำเป็นส่วน 1 ของสิ่งมีชีวิต)
6. การตั้งคำถาม เชื่อมโยงไปยังเนื้อหา,ตัวละคร
7. คุณสมบัติของน้ำ เพื่อให้เห็นของจริงและดึงจากการใช้ชีวิตประจำวัน
8. สรุป ข้อคิด(ไม่ใช่เนื้อหาแต่เป็นเรื่องราว, เทคนิคการสอน ,สื่อที่ใช้ประกอบวิธีการสอน ,การใช้คำถามกระตุ้น,การยกตัวอย่างประกอบ)ต้องทำให้เด้กได้เรียนรู้,การจัดลำดับเรื่องราว,สังเกตและทำจริง พิสูจน์
9. ประโยชน์ในการสอน  ปรับปรุง


             คนที่เป็นครูต้องมีการสังเกตเด็ก สนุกในการสอนและการเรียนของเด็ก  จะต้องทำตัวอย่างให้เด้กเข้าใจในสื่อการเรียนรู้ การสอนโดยให้เด้กได้เห็นภาพบางโดยบางอย่างไม่ต้องอธิบาย  สามารถให้เด้กได้เข้าใจถึงเนื้อหา


            อาจารย์ได้ดูงานกลุ่มที่ส่งไปเป็นมายแมปปิ้ง  และได้แนะนำแนวทางในการเขียนพร้อมทั้งบอกกระบวนการเขียนอย่างไรและนำไปสอนเด็กเพื่อทำการทดลอง
หน่วย ผักสดแสนอร่อย ของชั้นอนุบาล 2 คือ งานที่ได้รับมอบหมาย อาจารย์ได้แนะนำว่าต้องมีรูปร่าง รูปทรง สี กลิ่น รสชาติ ประโยชน์ โทษ(ข้อควรระวัง) การดูแลรักษา การขยายพันธุ์    ในชีวิตประจำวันมีปัญหาย่อมมีการแก้ไข
อนุบาล 2 ต้องลงรายละเอียดพอสมควร  มีรายละเอียดคอยเปรียบเทียบ

งานที่ได้รับมอบหมาย
ทำวิทยาศาสตร์  จับคู่ 2 คน
1. สื่อวิทยาศาสตร์  เด็กได้ลงมือเล่นและเกิดการเรียนรู้  1 ชิ้้น
2. สอนให้เด็กทำ (เด็กสามารถทำเองได้และง่าย)  1  ชิ้น
อาจารย์ขอดูวิธีการทำงานและงานที่นำเสนอ  เพื่อสามารถแก้ไขได้ทันก่อนถึงเวลาเรียน ในวันพฤหัสบดีที่   5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
นำเสนองานวันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2555 ในเวลาเรียน

29 มิ.ย. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3 26/06/2555

               สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ 
               อาจารย์ให้ส่งงานกลุ่ม  และอธิบายถึงนโยบายของคณะศึกษาศาสตร์ว่าอธิการบดีของคณะให้นักศึกษาทุกคนเขียนมายแม็ปปิ้งเป็นทุกคน  เพื่อเป็นการสรุปเนื้อหาเยอะๆให้มาอยู่ในแผ่นเดียวสามารถอ่านแล้วเข้าใจเนื้อหา   อาจารย์ได้ดูงานของแต่ละกลุ่มและบอกวิธีการเขียนมายแม็ปปิ้งที่ถูก คือ เขียนจากขาวมาซ้าย หมุนเหมือนเข็มนาฬิกา  และบอกวิธีจัดบอร์ดที่ถูกต้องสำหรับเด็กปฐมวัยห้ามใช้สีสะท้อนแสงและการเลือกใช้กระดาษที่เหมาะสม

               หมวดมี 4  หมวด
-เนื้อหาต้องเลือกสิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก
-พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องของเด็ก ตามความสามารถของเด็กและพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
-การอนุรักษ์ของเด็กวัย 4-5 ขวบ คือสิ่งรอบตัว
-การอนุพันธ์ 2 ขั้นของเพียเจย์
        0-2   ด้านสติปัญญา มีการสังเกตุ การมองและการได้ยินเสียงเด็กจะคอยหันตามเสียงที่ได้ยิน  ใช้มือสัมผัสสิ่งของเพราะสมองสั่งการเพื่อจะเก็บข้อมูลเป็นการ"รับรู้"
        2-4   เด็กมีประสบการณ์เดิมจากความรู้เดิมและมีการเรียนรู้ใหม่เพิ่มขึ้น  จะทำให้เด็กมีพัฒนาการต่อยอดจากความรู้เดิมเชื่อมโยงเป็นความรู้ใหม่  มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นการ"เรียนรู้"
        การประเมินเด็กต้องสังเกตจากพฤติกรรมของเด็ก  เด็กมีภาษามากขึ้นและใช้ประโยคเพิ่มขึ้น  เพราะตอน 0-2 ขวบ เด็กจะมีอีโก้สูงมาก"ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง" พอเด้กประมาณอายุ 4-5 ขวบ  สามารถเล่นกับเพื่อนได้มากขึ้น

                  ขั้นอนุรักษ์  คือ  ขั้นที่เด็กตอบตามตามองเห็น
การอนุรักษ์  คือ การใช้เหตุผล เช่น น้ำ  2 แก้ว เท่ากัน  เด็กสามารถใช้เหตุได้เพราะเด็กต้องสอนด้วยการให้เด็กได้มองเห็นและสัมผัสของจริง
วิทยาศาสตร์มี 4  ตัว
1 สิ่งที่ใกล้ตัว
2 สิ่งที่กระทบต่อตัวเด็ก  เพราะบางสิ่งเด็กอาจจะอยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ
3 วิทยาศาสตร์ คือ สิ่งที่อยู่รอบตัว
4 วิทยาศาสตร์ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

                   หน่วยมี 4  หน่วย
1 ตัวเด็ก  ตัวเรา
2 บุคคลและสถานที่   (ใกล้ชิดกับตัวเด็กและผลกระทบต่อตัวเด็ก)
3 ธรรมชาติรอบตัว
4 สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
        การสอนเด็กต้องสอนหน่วยใหญ่
-สัมผัสทั้ง  5
-อาหารดีมีประโยชน์ เช่น กล้วย

                    วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
1 แบ่งสมาชิก 9 กลุ่ม
-อายุ  3 ปี  กลุ่ม 1 วันที่16-20 กค. 2555
                  กลุ่ม 2 วันที่23-27 กค.2555
                  กลุ่ม 3 วันที่ 30 กค.-3 สค. 2555
-อายุ  4  ปี  กลุ่ม 4 วันที่16-20 กค. 2555
                  กลุ่ม 5 วันที่23-27 กค.2555
                  กลุ่ม 6 วันที่ 30 กค.-3 สค. 2555
-อายุ  5 ปี  กลุ่ม 7  วันที่16-20 กค. 2555
                  กลุ่ม 8  วันที่23-27 กค.2555
                  กลุ่ม 9   วันที่ 30 กค.-3 สค. 2555
2  วิธีการจัด
   -จัดแบบเป็นทางการ
กำหนดจุดมุ่งหมาย
รูปแบบการสอนต่างๆ  -การประกอบอาหาร
                                   -โครงการวิทยาศาสตร์
                                   -ทัศนะศึกษา
   -จัดแบบไม่เป็นทางการ
จัดมุมวิทยาศาสตร์
สภาพแวดล้อมที่ควรเตรียม
จัดตามเหตุการณ์ - ธรรมชาติ
                            - สิ่งที่เคยพบเห็น
3 วิธีการใช้สื่อ
  -เลือก
เหมาะสมกับหน่วย
เหมาะสมกับพัฒนาการ
เหมาะสมกับเวลาและสถานที่
เหมาะสมกับกิจกรรม
  -เตรียม
อุปกรณ์
ทดลองใช้ก่อนที่จะนำไปสอนเด็ก
   -ลงมือปฎิบัติ
ประเมินผล
4  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
    - กระบวนการเบื้องต้น
การพยากรณ์  คือ  การคำนวณสิ่งที่เกิดขึ้น  ข้อมูลที่มีพื้นฐานเยอะ
การจำแนกประเภท  คือ การวิเคราะห์ต้องมีเกณฑ์ เช่น สัตว์ปีก มี 2 ขา
การวัด คือ การวัดเชิงปริมาณ มีการตวง การวัด การชั้ง
การสังเกต คือ การเก็บรวบรวมข้อมูล ประสาทสัมผัสทั้ง 5
การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา
การสื่อความสื่อความหมาย คือ ของที่แทนด้วยความหมาย
การคำนวณ  คือ การหาค่าจากการเฉลี่ย
    -กระบวนการผสม
การตั้งสมมุติฐาน
การกำหนดเชิงปฎิบัติ  คือ  การใช้ระยะเวลา  กำหนดการ
การกำหนดและควบคุมตัวแปร  คือ  มีการควบคุมและสมองใกล้เคียงกัน
การทดลอง  คือ การลงมือปฎิบัติ
การตีความหมายข้อมูลและสรุป  คือ การสรุปการทดลองเดิมให้ดีขึ้นกว่าเดิม

      การบ้าน
1  ให้จับกลุ่ม 5 คน และไปจับฉลาก  และเขียนมายแม็ปปิ้งแผ่นใหญ่ 1 แผ่น  โดยสมาชิกในกลุ่มต้องรู้เรื่องหน่วยการสอนทั้ง 5  วัน แต่ให้แต่ละคนเลือกมาคนละ 1 วัน
2  ให้แต่ละกลุ่มไปเอาหน่วยการสอนที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม

      หมายเหตุ
อนุบาล 1 มีการเรียนรู้เดิมและมีสื่อ สามารถอ่านจากภาพได้
อนุบาล 2 มีการกระตุ้นใช้เหตุผล  มีสื่อประสม
อนุบาล 3 มีคำถามให้คิดวิเคราะห์โดยใช้เหตุและผล




                




              

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2 22/06/2555

                  สวัสดีอาจารย์ที่เคารพ  

     อาจารย์สอนเรื่อง รู้ รู้มีอะไรบ้าง
เรียนรู้
รับรู้
ความรู้
ผู้รู้
อยากรู้
ใฝ่รู้

การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
- สิ่งแวดล้อม พ่อ แม่ วัฒนธรรม สังคม การอบรมเลี้ยงดู
-พัฒนาการทางสติปัญญา ภาษา การคิด(การคิดสร้าสรรค์ การคิดเชิงเหตุผล)
การจัดประสบการณ์
-หลักการจัดประสบการณ์
-เทคนิคการจัดประสบการณ์
-กระบวนการจัดประสบการณ์
-ทฤษฎีการจัดประสบการณ์
-สื่อสภาพแวดล้อมสนับสนุนการจัดประสบการณ์
-การประเมินผล
วิธีการเรียนรู็ของเด็ก
-ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ตาดู    หูฟัง กายสัมผัส  ลิ้นชิมรส จมูกดมกลิ่น
สาระสำคัญ
-เรื่องราวเกี่ยวกับเด็ก
-เรื่องราวเกี่ยวกับบุคลและสถานที่สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก
-ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
-สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
ทักษะทางวิทยาสาสตร์
1. การสังเกตุ
2. การจำแนกเปรียบเทียบ
3. การวัด
4. การสื่อสาร
5. การทดลอง
6. การสรุปและนำไปใช้

การบ้าน
-ให้นักศึกษาหาพัฒนาการทางสติปัญญาด้านวิทยาศาสตร์ของเด็กอายุ  5 ขวบ แล้วนำลงบล็อกของตน
-จับกลุ่ม 4 คน ทำมายแม็ปปิ้งเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย







25 มิ.ย. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 12/06/2555

           สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ 
วันนี้เป็นการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  เป็นครั้งแรกของวิชานี้ในภาคเรียนที่1  บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานมากเพราะพึ่งเปิดเทอมเป็นวันที่สอง ได้พบปะเจอหน้าเพื่อนๆก็มีความสุขมากค่ะ

            อาจารย์ได้เข้าปฐมนิเทศวิชานี้และได้พูดถึงนักศึกษาเอก การศึกษาปฐมวัย  เกียวกับการปกป้องตัวเอง  ต้องอดทนกับการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวันอย่างระมัดระวัง เพราะการเรียนวิชาชีพครูต้องทำคะแนนวิชาเอกให้ได้คะแนนดี

            อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาแต่ละคนไปทำบล็อกเกอร์ของวิชา การจัดประการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  การทำบล็อกเกอร์ต้องบันทึกเป็นประจำทุกสัปดาห์เพราะอาจารย์จะเข้ามาตรวจบล็อกเกอร์ของนักศึกษาเป็นระยะ 
อาจารย์ได้อธิบายวิชานี้ว่า  การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีทฤษฎีและจะมีการปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่  เพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมความพร้อมในการออกไปฝึกสอนใน ปี5  และการออกสังเกตการสอน

            อาจารย์ให้โหลดมาตรฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและให้ลิ้งค์ไว้ในบล็อกเกอร์ของแต่ละคนและไปศึกษาโดยการดูโทรทัศน์ครูและเลือกมา  1 เรื่อง  ที่เกี่ยวข้องกับวิชาการจัดประสบการณ์ทาง
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

            หมายเหตุ 
           วันที่ 20  มิถุนายน พ.ศ.2555  ประชุมนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ทุกคนเพื่อเข้ารับฟังการแนะแนวการตรวจการจบ  และต้องเก็บหน่วยกิตให้ครบก่อนออกฝึกสอน  ซ้อมพิธีไหว้ครูในวันที่  21  มิถุนายน  พ.ศ.2555    กิจกรรมรับน้องใหญ่ของมหาลัย  วันที่  27  มิถุนายน  พ.ศ. 2555    กีฬาสีคณะศึกษาศาสตร์ต้องเข้าร่วมชั้นปีที่ 1 -4  เข้าร่วมกิจกรรม  วันที่  19-23  พฤศจิกายน พ.ศ. 2555  มีการตั้งกิจกรรมชุมนุม
(รับน้องเอกการศึกษาปฐมวัยและไหว้ครูเอกปฐมวัย )